คู่มือการทดสอบและแข่งขัน | Testing and Competition Guide

  • กำหนดการสอบและข้อปฏิบัติ ผู้เข้าสอบสามารถเข้าสอบได้ในวันและเวลาที่สะดวกในระหว่างวันที่ 10 – 13 กรกฎาคม 2568 ผ่านเว็บไซต์ TechEd Assessment Testing (เว็บไซต์ที่สมัครสอบ)
  • ออกแบบเวลาสอบด้วยตัวเอง | ผู้เข้าสอบสามารถเข้าสอบได้ในวันและเวลาที่สะดวกในช่วงเวลาข้างต้น
  • สมัคร 1 ได้ถึง 2 | ประกอบด้วยการทดสอบ 2 ส่วน ได้แก่ 1) การคิดเชิงวิพากษ์และค้นคว้า (Critical Thinking, Research And Information Skills) 2) ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และการประยุกต์ (Scientific Knowledge and Applications)
  • ภาษาที่ใช้การสอบ : ภาษาอังกฤษ (English)
  • จำนวนข้อสอบ : ส่วนละ 20 ข้อ รวม 40 ข้อ (เวลาในการสอบ : 2 ชั่วโมง 30 นาที)
  • รูปแบบการตอบ : ข้อสอบแบบปรนัยจากบทความวิชาการ พร้อมการให้เหตุผลประกอบคำตอบ (Article-Based MCQs with Reasoning)
  • ข้อปฏิบัติในการเข้าสอบ
  • ระบบทดสอบออนไลน์จะเปิดให้เข้าสอบเพียง 1 ครั้งเท่านั้น ผู้เข้าสอบควร อ่านคำถามอย่างละเอียด และเตรียมความพร้อมทั้งด้านความรู้และทักษะการอธิบายเหตุผลทางวิทยาศาสตร์
  • สามารถเข้าสอบได้ เมื่อสะดวก และให้ศึกษาคำชี้แจงก่อนสอบให้เข้าใจก่อนเริ่มทำการสอบ 
  • กำหนดการสอบและข้อปฏิบัติ ผ่านเว็บไซต์ TechEd Assessment Testing (เว็บไซต์ที่สมัครสอบ)
  • ผู้เข้าสอบเข้าสอบได้ใน 13 กรกฎาคม 2568 และเวลาที่กำหนดในตารางสอบในระบบ ดังนี้
  • มัธยมศึกษาตอนต้น (TH) | 09.30 – 12.00 น. 13 กรกฎาคม 2568
  • Medical Aptitude Test and Competition | Lower-Secondary (ENG) | 13.30 – 16.00 น. | 13 กรกฎาคม 2568
  • มัธยมศึกษาตอนปลาย (TH) | 13.30 – 16.00 น. | 13 กรกฎาคม 2568
  • Medical Aptitude Test and Competition | Upper-Secondary (ENG) | 09.30 – 12.00 น. | 13 กรกฎาคม 2568

    (ดูในคำอธิบายด้านล่างรายวิชา) ผ่านเว็บไซต์ TechEd Testing 

  • จำนวนข้อสอบ : ส่วนละ 20 ข้อ รวม 40 ข้อ (ข้อสอบแบบบูรณาสหสาขาวิชาในข้อสอบชุดเดียว : เวลาในการสอบ 2 ชั่วโมง 30 นาที)

  • รูปแบบการตอบ : ข้อสอบแบบปรนัยจากบทความวิชาการ พร้อมการให้เหตุผลประกอบคำตอบ (Article-Based MCQs with Reasoning)

  • ขอบเขตการออกข้อสอบ : ตามบทความวิชาการที่อ้างอิงไว้ (คลิ๊กเพื่อศึกษาขอบเขต)

  • ข้อปฏิบัติในการเข้าสอบ
  • ระบบทดสอบออนไลน์จะเปิดให้เข้าสอบเพียง 1 ครั้งเท่านั้น ผู้เข้าสอบควร อ่านคำถามอย่างละเอียด และเตรียมความพร้อมทั้งด้านความรู้และทักษะการอธิบายเหตุผลทางวิทยาศาสตร์
  • สามารถเข้าสอบได้ เมื่อสะดวก และให้ศึกษาคำชี้แจงก่อนสอบให้เข้าใจก่อนเริ่มทำการสอบ 
  • อนุญาตให้ผู้เข้าสอบออกจากห้องสอบหลังเวลาผ่านไปแล้วอย่างน้อย 1 ชั่วโมง 30 นาที

รูปแบบข้อสอบ : Article-Based MCQs with Reasoning (รอบสอบออนไลน์ผ่านระบบ TechEd Assessment Testing) 

เพื่อประเมินความรู้ ความเข้าใจเชิงลึก และทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เข้าสอบในสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ข้อสอบในรอบนี้จึงออกแบบให้มีลักษณะเป็น ข้อสอบแบบปรนัยจากบทความวิชาการ พร้อมการให้เหตุผลประกอบคำตอบ (Article-Based MCQs with Reasoning) โดยจัดสอบผ่านระบบออนไลน์ของ TechEd Assessment Testing

  • ในแต่ละข้อสอบ คำถามแบบปรนัย (Multiple-Choice Question) จำนวน 5 ตัวเลือก

    > ให้เลือก “คำตอบที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุด” บทความทางวิชาการหรือข้อมูลประกอบ (กรณีเป็นคำถามเชิงวิเคราะห์)

ผู้เข้าสอบจะต้อง แสดงเหตุผลประกอบคำตอบ เพื่อสะท้อนกระบวนการคิด วิเคราะห์ และความเข้าใจในเนื้อหาวิชาการ โดยระบบจะมีช่องให้กรอกคำตอบเพิ่มเติม 2 ส่วน ได้แก่

  • สาเหตุในการตอบ / ขยายความคำตอบ
    ผู้เข้าสอบต้องอธิบายเหตุผล แนวคิด หรือหลักการวิเคราะห์ที่ใช้ประกอบการเลือกคำตอบ (คะแนนส่วนนี้ 35%)
  • ทฤษฎี / หลักคิด / อ้างอิงที่ใช้ในการตอบ
    ให้ระบุหลักวิชาการที่ใช้ในการตอบคำถาม เช่น ทฤษฎี สมการ สูตร หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง อาจอ้างอิงจากบทความที่ใช้ประกอบข้อสอบ หรือจากแหล่งความรู้ที่เกี่ยวข้องอื่น (คะแนนส่วนนี้ 35%)

| ผู้เข้าสอบควรใช้ถ้อยคำที่กระชับ ชัดเจน และสะท้อนความเข้าใจในเชิงวิเคราะห์และวิชาการ

ตัวอย่างข้อสอบและลักษณะของข้อสอบพร้อมส่วนอธิบายจากบทความวิชาการ (Article-Based MCQs with Reasoning)

คำตอบที่ถูกต้อง (Correct Answer) | ร้อยละ
ร้อยละ 30%
ลักษณะส่วนอธิบาย (Explanation Sections) | ร้อยละ
ร้อยละ 70%
  • พิจารณาจากความสามารถในการวิเคราะห์เหตุผลและสื่อสารทางวิชาการ โดยแบ่งออกเป็น 3 ด้านย่อย ดังนี้
  • การอธิบายแนวคิดหรือกระบวนการวิเคราะห์ (ร้อยละ 25) ผู้เข้าสอบสามารถอธิบายลำดับเหตุผล แนวทางการคิด หรือขั้นตอนในการวิเคราะห์คำถามได้อย่างชัดเจน มีตรรกะ และแสดงความเข้าใจในบริบทของโจทย์
  • การใช้ภาษาและหลักวิชาการในการถ่ายทอด (ร้อยละ 25) ให้คะแนนจากความชัดเจน กระชับ ถูกต้อง และความสามารถในการสื่อสารเชิงวิชาการ ทั้งในภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ (ตามที่โจทย์กำหนด) โดยไม่จำเป็นต้องใช้คำศัพท์เฉพาะทางมาก แต่ควรแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในเนื้อหาที่สื่อ
  • การอ้างอิงหลักการ ทฤษฎี หรือแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง (ร้อยละ 20) พิจารณาจากการเชื่อมโยงคำตอบกับหลักการทางวิชาการ อาทิ ทฤษฎี แนวคิด สมการทางวิทยาศาสตร์ หรือบทความที่มีความน่าเชื่อถือ